บทความ

แม่แรงไฮดรอลิค

วิธีการบำรุงรักษาระบบ ไฮดรอลิค

วิธีการบำรุงรักษาระบบ ไฮดรอลิค เนื่องจากสิ่งสกปรกที่เป็นอนุภาคของแข็ง ไม่ว่าจะเป็นเศษโลหะ ชิ้นส่วนเศษผงตลอดจนความชื้น และอากาศที่เล็ดลอดเข้าไปปะปนใน น้ำมันไฮดรอลิค สามารถก่อให้เกิดการสึกหรอและการสีก กร่อน ของปั๊มไฮดรอลิค ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักพบอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอใน เรื่อง ความสะอาดของ น้ำมันไฮดรอลิค 1. ฟลัชล้างทำความสะอาดระบบด้วย น้ำมันไฮดรอลิค ระบบไฮดรอลิคใหม่หรือหลังจากมีการถอด ซ่อมบำรุงรักษา อาจมีสี โลหะ สนิม ตลอดจนฝุ่นและทราย ที่ติดค้างอยู่ในระบบ 2. ควรระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับ ความสะอาดของ น้ำมัน โดยดูแลภาชนะ ปั๊มดูด ถังเก็บ ให้สะอาด อยู่เสมอ นอกจากนี้ต้องหมั่นทำความสะอาด ระบบกรองน้ำมัน หรือเมื่อเปลี่ยนไส้กรองชำรุด เมื่อล้าง ไส้กรองควรสังเกตดูสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่ตามไส้กรองว่าเป็นอะไร หากมีเศษโลหะมาก แสดงว่าระบบมี การสึกหรอชนิดของสิ่งสกปรก อาจใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการชำรุดสึกหรอ และ จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป 3. หมั่นตรวจตราการทำงานของระบบไฮดรอลิค ตลอดจนเสียงที่ดังผิดปกติ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงอาการ ที่มีการรั่วของอากาศตา

หน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิค

หน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิค ระบบไฮดรอลิค เป็นระบบที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบจะทุกประเภท รวมทั้งในงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งใช้ น้ำมันไฮดรอลิค เป็นสารตัวกลางในการถ่ายทอดหรือเปลี่ยนแปลงพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล ทำให้สามารถเคลื่อนที่ในแนวเชิงเส้น หรือในแนวหมุนได้ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ ง่ายต่อการควบคุม และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของกระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิคได้ง่าย ในระบบไฮดรอลิคนั้นจะประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 6 อย่าง ดังนี้ ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทำหน้าที่เก็บน้ำมัน ปรับสภาพน้ำมันให้สะอาดและมีอุณหภูมิพอเหมาะ ปั๊มไฮดรอลิค ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของของไหล วาล์วควบคุมชนิดต่างๆ ทำหน้าที่ควบคุมทิศทาง ปริมาณการไหล และความดันในระบบไฮดรอลิค อุปกรณ์ทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล เช่น กระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิค ท่อทางไฮดรอลิค ทำหน้าที่เป็นทางไหลของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ น้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญในระบบไฮดรอลิค และถือว่าเป็นหัวใจของระบบไฮดรอลิค ก็คือ น้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของน้ำมันไฮดรอลิคมี 4

ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันไฮดรอลิค

น้ำมันไฮดรอลิค            น้ำมันไฮโดรลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานถ่ายทอดกำลัง ตลอดจนทำหน้าที่เป็นซีล ป้องกันการรั่วไหลของระบบ ซึ่งจะทำให้อัตราการไหล หรือความดันของระบบลดลง (Leakage Flow Rate) และช่วยระบายความร้อนโดยทั่วไประบบไฮโดรลิค มีส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น ปั๊มสำหรับอัดน้ำมัน ไฮดรอลิคให้มีแรงดันสูงขึ้น วาล์วหรืออุปกรณ์สำหรับควบคุมแรงดัน ทิศทางและปริมาณการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค รวมทั้งชุดลูกสูบ และกระบอกสูบ ปัจจุบันระบบไฮโดรลิค เป็นแบบ Hybrid คือ มีทั้งระบบใบพัดและลูกสูบ ( Vane Pump & Piston Pump) การพัฒนาคุณสมบัติของน้ำมันไฮโดรลิค จำเป็นต้องทำให้น้ำมันไฮโดรลิคสามารถทนต่อสภาวะงานที่มีแรงดันสูง และอุณหภูมิสูงได้ ในระบบรถยนต์ต้องตอบสนองต่อประสิทธิภาพการขับขี่ที่สูงขึ้น คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันไฮดรอลิค คือต้องทนต่อแรงกดได้ดีคือมีค่าOil Stress Index สูง มีสารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoam) ทนความร้อน ป้องกันปฎิกิริยา ออกซิเดชั่น (Thermal – Oxidation Stability) ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ( Wear Protection & Corro

การออกแบบแม่แรงตะเข้ไฮดรอลิกและโมเดลจำลอง

รูปภาพ
การออกแบบแม่แรงตะเข้ไฮดรอลิกและโมเดลจำลอง part1 part2 part3 part4 part5 part6 part7 part8 part9 part10 part11 part12 part13 part14 part15 part16 part17 part18 Part Assembly โมเดลจำลอง

การเลือกซื้อ วิธีการใช้และการบำรุงรักษาแม่แรงไฮดรอลิก

รูปภาพ
การเลือกซื้อ วิธีการใช้และการบำรุงรักษา           การเลือกซื้อแม่แรง รถยนต์ เครื่องจักร อุตสาหกรรมพัฒนาตลอดเวลา แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก แม่แรงยกเกียร์ แม่แรงยกเครื่องจักร แม่แรงยกบ้าน เครนยกเครื่อง.. ก็พัฒนาต่อเนื่องเพื่อสร้างความสะดวก ใช้ลม ใช้ไฟฟ้า ใช้มือโยก รุ่นงานเบา-งานหนัก (ดูเพิ่มเติมที่สินค้าแม่แรงทุกชนิด) สังเกตรถยนต์ที่จะยกหรือจุดที่จะยกนั้นมิติสูงต่ำเท่าใหร่ ถ้าเอาแม่แรงตัวต่ำไปยกรถสูงก๊ไม่ได้ รถสูงจะเอาแม่แรงตัวเล๊กไปยกก็ไม่ได้ แม่แรงตัวเตี้ยจะเหมาะกับรถเตี้ย-รถปกติ แม่แรงอลูมิเนียมสวยงามน้ำหนักเบาเหมาะกับบ้านหรือสนามแข่งรถ เน้นติดรถใช้แม่แรงตัวเล๊ก ต้องการDIYเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือเป็นอู่รถแม่แรงตัวใหญ่จะเหมาะกว่า ซื้อตัวที่รับน้ำหนักเยอะกว่ารถหรือสินค้าที่จะยก ตอนใช้งานจะเบาแรงไม่โอเว่อโหลด แม่แรงใหม่ใช้งานได้ทันทีไม่ต้องดูแลหรือเติมน้ำมันเพียงแต่ใช้ให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะนาน การหาใช้ให้เหมาะสมนอกจากจะตรงต่อความต้องการยังประหยัดและปลอดภัย จุดยกแม่แรงหรือตำแหน่งยกแม่แรง          รถยนต์ทุกคันจะมีการเว้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเสริมความแข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักไว้ที่แชสซี

ประเภทของแม่แรงไฮดรอลิก

รูปภาพ
ประเภทของแม่แรงไฮดรอลิก           ตามปกติตัวถังและโครงรถยนต์ จะต้องทำการซ่อมเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ทำให้โครงตัวถังรถเกิดการโค้งงอ บิดตัว แตกหัก หรือฉีกขาด ซึ่งจะต้องทำการซ่อมบริเวณส่วนที่โค้งงอ บิดตัว ให้ตรงเหมือนเดิม (straightening) โดยใช้เครื่องมือที่ให้กำลัง (Power Tool) สำหรับดึง และดันซึ่งแล้วแต่ลักษณะของงานที่จะซ่อมนั้นๆ และตัวถังบางชิ้นที่ซ่อมไม่ได้จะต้องเปลี่ยนใหม่ด้วยเครื่องมือที่ให้กำลัง (Power Tool) ในการซ่อมตัวถังและโครงรถ มีแม่แรงแบบต่างๆ เช่น 1. แม่แรงยก 2. แม่แรงยกแบบตั้งพื้น 3. แม่แรงดันแบบเคลื่อนที่         1. แม่แรงยก (hydraulic hand jack) แม่แรงยกแบบนี้เป็นแม่แรงยกขนาดเล็กที่ใช้ยกงานที่ไม่หนักเกินไปและใช้ยกในช่วงสั้นๆ และสามารถดันงานตัวถังและโครงรถ เพื่อให้ตัวถังและโครงรถได้ศูนย์ขณะซ่อมงานตัวถังด้วย และแม่แรงยกโดยตรงจะมีแม่ปั้มกับกระบอกดันรวมอยู่ในชุดเดียวกัน ลักษณะการทำงานจะทำการยกหรือดันก็ได้         2. แม่แรงยกแบบตั้งพื้น (hydraulic floor jack) แม่แรงยกแบบตั้งพื้น เป็นแม่แรงยกอาศัยหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค จะใช้ยกส่วนหน้า ส่วนหลัง และด้านข้างของรถยนต

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้งานระบบไฮดรอลิค

รูปภาพ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้งานระบบไฮดรอลิค 1. การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค   มีเพียงสองเหตุผลเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค คือ การเสียสภาพของน้ำมันพื้นฐาน และการที่สารเพิ่มคุณภาพหมดไปจากน้ำมันหล่อลื่น เพราะว่ามีตัวแปรมากมายที่จะเป็นตัวชี้อัตราการเสื่อมของน้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคตามระยะเวลาโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงสภาพของน้ำมัน ก็เหมือนกับการเดาสุ่มนั่นเอง เมื่อน้ำมันไฮดรอลิคมีราคาสูงขึ้น การถ่ายน้ำมันทิ้งน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำ โดยเฉพาะถังน้ำมันขนาดใหญ่มีน้ำมันปริมาณมาก แต่ในทางกลับกันถ้าน้ำมันหมดสภาพแล้ว หรือไม่มีสารเพิ่มคุณภาพเหลืออยู่ในน้ำมัน แล้ว เรายังทนใช้งานต่อไป ก็จะเป็นอันตรายกับระบบไฮดรอลิคโดยรวมเช่นกัน     ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันตามชั่วโมงการทำงานจึงไม่ใช่สิ่งที่ดี เว้นแต่ว่ามีปริมาณน้ำมันน้อย ๆ วิธีที่ดีที่สุดเห็นจะเป็นการส่งตัวอย่างน้ำมันเข้าทำการวิเคราะห์ในห้องทดลอง อีกอย่างหนึ่ง การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกต่าง ๆ และน้ำที่เข้าไปปะปนในน้ำมัน ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมัน เพราะการปนเปื้อนของทั้งสองอย่างนี้แก้ไขได้ด้วยว