บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

การออกแบบแม่แรงตะเข้ไฮดรอลิกและโมเดลจำลอง

รูปภาพ
การออกแบบแม่แรงตะเข้ไฮดรอลิกและโมเดลจำลอง part1 part2 part3 part4 part5 part6 part7 part8 part9 part10 part11 part12 part13 part14 part15 part16 part17 part18 Part Assembly โมเดลจำลอง

การเลือกซื้อ วิธีการใช้และการบำรุงรักษาแม่แรงไฮดรอลิก

รูปภาพ
การเลือกซื้อ วิธีการใช้และการบำรุงรักษา           การเลือกซื้อแม่แรง รถยนต์ เครื่องจักร อุตสาหกรรมพัฒนาตลอดเวลา แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก แม่แรงยกเกียร์ แม่แรงยกเครื่องจักร แม่แรงยกบ้าน เครนยกเครื่อง.. ก็พัฒนาต่อเนื่องเพื่อสร้างความสะดวก ใช้ลม ใช้ไฟฟ้า ใช้มือโยก รุ่นงานเบา-งานหนัก (ดูเพิ่มเติมที่สินค้าแม่แรงทุกชนิด) สังเกตรถยนต์ที่จะยกหรือจุดที่จะยกนั้นมิติสูงต่ำเท่าใหร่ ถ้าเอาแม่แรงตัวต่ำไปยกรถสูงก๊ไม่ได้ รถสูงจะเอาแม่แรงตัวเล๊กไปยกก็ไม่ได้ แม่แรงตัวเตี้ยจะเหมาะกับรถเตี้ย-รถปกติ แม่แรงอลูมิเนียมสวยงามน้ำหนักเบาเหมาะกับบ้านหรือสนามแข่งรถ เน้นติดรถใช้แม่แรงตัวเล๊ก ต้องการDIYเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือเป็นอู่รถแม่แรงตัวใหญ่จะเหมาะกว่า ซื้อตัวที่รับน้ำหนักเยอะกว่ารถหรือสินค้าที่จะยก ตอนใช้งานจะเบาแรงไม่โอเว่อโหลด แม่แรงใหม่ใช้งานได้ทันทีไม่ต้องดูแลหรือเติมน้ำมันเพียงแต่ใช้ให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะนาน การหาใช้ให้เหมาะสมนอกจากจะตรงต่อความต้องการยังประหยัดและปลอดภัย จุดยกแม่แรงหรือตำแหน่งยกแม่แรง          รถยนต์ทุกคันจะมีการเว้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเสริมความแข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักไว้ที่แชสซี

ประเภทของแม่แรงไฮดรอลิก

รูปภาพ
ประเภทของแม่แรงไฮดรอลิก           ตามปกติตัวถังและโครงรถยนต์ จะต้องทำการซ่อมเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ทำให้โครงตัวถังรถเกิดการโค้งงอ บิดตัว แตกหัก หรือฉีกขาด ซึ่งจะต้องทำการซ่อมบริเวณส่วนที่โค้งงอ บิดตัว ให้ตรงเหมือนเดิม (straightening) โดยใช้เครื่องมือที่ให้กำลัง (Power Tool) สำหรับดึง และดันซึ่งแล้วแต่ลักษณะของงานที่จะซ่อมนั้นๆ และตัวถังบางชิ้นที่ซ่อมไม่ได้จะต้องเปลี่ยนใหม่ด้วยเครื่องมือที่ให้กำลัง (Power Tool) ในการซ่อมตัวถังและโครงรถ มีแม่แรงแบบต่างๆ เช่น 1. แม่แรงยก 2. แม่แรงยกแบบตั้งพื้น 3. แม่แรงดันแบบเคลื่อนที่         1. แม่แรงยก (hydraulic hand jack) แม่แรงยกแบบนี้เป็นแม่แรงยกขนาดเล็กที่ใช้ยกงานที่ไม่หนักเกินไปและใช้ยกในช่วงสั้นๆ และสามารถดันงานตัวถังและโครงรถ เพื่อให้ตัวถังและโครงรถได้ศูนย์ขณะซ่อมงานตัวถังด้วย และแม่แรงยกโดยตรงจะมีแม่ปั้มกับกระบอกดันรวมอยู่ในชุดเดียวกัน ลักษณะการทำงานจะทำการยกหรือดันก็ได้         2. แม่แรงยกแบบตั้งพื้น (hydraulic floor jack) แม่แรงยกแบบตั้งพื้น เป็นแม่แรงยกอาศัยหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค จะใช้ยกส่วนหน้า ส่วนหลัง และด้านข้างของรถยนต

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้งานระบบไฮดรอลิค

รูปภาพ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้งานระบบไฮดรอลิค 1. การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค   มีเพียงสองเหตุผลเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค คือ การเสียสภาพของน้ำมันพื้นฐาน และการที่สารเพิ่มคุณภาพหมดไปจากน้ำมันหล่อลื่น เพราะว่ามีตัวแปรมากมายที่จะเป็นตัวชี้อัตราการเสื่อมของน้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคตามระยะเวลาโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงสภาพของน้ำมัน ก็เหมือนกับการเดาสุ่มนั่นเอง เมื่อน้ำมันไฮดรอลิคมีราคาสูงขึ้น การถ่ายน้ำมันทิ้งน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำ โดยเฉพาะถังน้ำมันขนาดใหญ่มีน้ำมันปริมาณมาก แต่ในทางกลับกันถ้าน้ำมันหมดสภาพแล้ว หรือไม่มีสารเพิ่มคุณภาพเหลืออยู่ในน้ำมัน แล้ว เรายังทนใช้งานต่อไป ก็จะเป็นอันตรายกับระบบไฮดรอลิคโดยรวมเช่นกัน     ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันตามชั่วโมงการทำงานจึงไม่ใช่สิ่งที่ดี เว้นแต่ว่ามีปริมาณน้ำมันน้อย ๆ วิธีที่ดีที่สุดเห็นจะเป็นการส่งตัวอย่างน้ำมันเข้าทำการวิเคราะห์ในห้องทดลอง อีกอย่างหนึ่ง การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกต่าง ๆ และน้ำที่เข้าไปปะปนในน้ำมัน ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมัน เพราะการปนเปื้อนของทั้งสองอย่างนี้แก้ไขได้ด้วยว

การประยุคใช้ระบบไฮดรอลิกกับโรงงานอุตสาหกรรม

การประยุคใช้ระบบไฮดรอลิกกับโรงงานอุตสาหกรรม           ระบบไฮดรอลิกส์มักถูกประยุกต์นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คำว่า“ไฮดรอลิกส์” (Hydraulics) เป็นคำที่เกิดมาจากการผสมกันของภาษากรีก ระหว่างคำว่า “Hydor” ซึ่งมีความหมายว่า น้ำ(Water)  และคำว่า“Aulis”ซึ่งมีความหมายว่า ท่อทาง(Pipe)ดังนั้นในอดีตเมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วคำว่า“ระบบไฮดรอลิกส์”(Hydraulics system)จึงหมายถึง ระบบการทำงานที่ใช้น้ำเป็นสารตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังงานผ่านระบบท่อทาง เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคำว่า“ระบบไฮดรอลิกส์”หมายถึง ระบบการทำงานที่ใช้ของเหลวทุกชนิดเป็นสารตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังงานผ่าน ระบบท่อทางเพื่อไปทำให้เกิดแรงและการเคลื่อนที่ ตัวอย่างการใช้งานระบบไฮดรอลิกส์ได้แก่ ระบบเบรกในรถยนต์ เครื่องอัดขึ้นรูปชิ้นงาน รถแทรกเตอร์ แม่แรงไฮดรอลิกส์ เป็นต้น             ระบบไฮดรอลิกส์จะมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับระบบนิวแมติกส์ก็คือ ระบบจะมีขนาดที่เล็กกว่าในขณะที่สามารถสร้างกำลังงานในการออกแรงทำงานได้ มากกว่า การทำงานจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าระบบที่ใช้ลมอัด ทั้งนี้เนื่องจากใช้สารตัวกลางในการส่งถ่าย

แท่นแม่แรงแบบไฮดรอลิกล้วนและแบบกึ่งไฮดรอลิก

รูปภาพ
          ในยุคปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่จำเป็นต้องมีเครื่องเอื้ออำนวยความสะดวก และช่วยในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสบาย สบาย และทำงานได้อย่างมีความสามารถ ในการดำรงชีวิตและการทำงานนั้น สิ่งที่เราสัมผัสอยู่เป็นประจำ ๆ ก็คือการใช้ยานพาหะกันอยู่ประจำทุกวันจำเป็นต้องมีการดูแลและบำรุงรักษา เช่นซ่อมแซมจุที่ชำรุดเสียหาย การบำรุงรักษาพื้นที่ที่อยู่สูงจากพื้น ต้องมีเครื่องใช้ไม้สอยช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานขึ้นไปทำงาน ถ้าวัสดุอุปกรณ์นั้นไม่มีประสิทธิภาพอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นแม่แรง ทางคณะผู้วิจัยจึงคิดสร้าง“แท่นยกล้อเอนกประสงค์” ขึ้นเพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้การทำหน้าที่บนที่สูง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แม่แรง           กำลังไฟฟ้าที่ถ่ายทอดทะลุตัวกลางที่เป็นอากาศหรือน้ำมันนั้น สามารถส่งผลออกมาเป็นแรงทางกลได้อย่างมหาศาล แท่นแม่แรงไฮดรอลิกส์รถยกจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบไฮดรอลิกล้วน และแบบกึ่งไฮดรอลิก แท่นแม่แรงแบบไฮดรอลิกล้วนจะอาศัยหลักสัจธรรมในทางพลศาสตร์ของของเหลวภาย

แม่แรงแยกส่วนระบบไฮดรอลิก

รูปภาพ
            แม่แรงแยกส่วน หมายถึงการเอาแต่ละส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะไม่เหมือนแม่แรงแบบที่มีปั๊มและกระบอกอยู่รวมกัน ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ เช่น Simplex Enerpac Powerteam จากอเมริกา Sunrun จากไต้หวัน แม่แรงแบบนี้จะมีแรงดันที่สูงมากประมาณ 10,000 psi หรือประมาณ 800 bar ความสามารถนั้นสามารถยกของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 10000 ตัน แล้วแต่ละยี่ห้อจะผลิตออกมาจำหน่าย จะมีใช้งานตามโรงงานอุตสาหกรรม และ constructions  ดังภาพ จะมีส่วนประกอบไปด้วย กระบอกไฮดรอลิค แฮนด์ปั๊ม สาย และก็เกจวัดแรงดัน มีแรงดันในระบบที่สูงมากประมาณ 10,000 psi เวลาต้องการใช้งานเราก็นำแต่ละส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน อาจจะดูยุ่งยากต่อการใช้งานและการเก็บรักษา แต่มีข้อดีคือ การยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดให้เลือกมากมายสามารถยกได้ตั้งแต่5ตันถึง1000ตัน เวลาจะซื้อมาใช้งานเราก็มาจัดชุดประกอบก่อนว่าเราต้องการยกอะไร ต้องการยกกี่นิ้ว ระยะห่างของตัวแม่ปั๊มกับกระบอกไฮดรอลิกว่าต้องการห่างเท่าไหร่ เพราะเราต้องมาจัดสายไฮดรอลิคว่าจะเอากี่เมตร เพราะบางพื้นที่เราไม่สามารถเข้าไปไกล้กระบอกไฮดรอลิคได้ และเป็นการป้องกันอันตรายจากวัตถุที่

แม่แรงระบบไฮดรอลิก

รูปภาพ
          เมื่อครั้งที่แล้วเราได้ทราบถึงความหมายและชนิดของแม่แรงกันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแม่ชนิดแรกนั้นก็คือ" แม่แรงระบบไฮดรอลิก "กันนะครับ            ก่อนอื่นเรามารู้จักกับระบบไฮดรอลิกกันก่อน ซึ่งผู้ที่คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาก็คือ" แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal, ค.ศ. ๑๖๒๓-๑๖๖๒) " เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปเป็นกฎไว้ว่า "ของเหลวภายในภาชนะซึ่งมีช่องทะลุถึงกันได้ ความดันในของเหลวที่ระดับเดียวกันจะต้องมีค่าเท่ากัน ในขณะเมื่อไม่มีการไหล" ความดันคือแรงต่อหน่วยเนื้อที่ ถ้ามีกระบอกสูบสองกระบอก มีขนาดใหญ่อันหนึ่งและเล็กอันหนึ่ง มีท่อต่อให้น้ำมันภายในกระบอกทั้งสองไหลถึงกันได้ เมื่อกดลูกสูบเล็กลงน้ำมันจะถูกอัดไปดันให้ลูกสูบใหญ่ลอยขึ้น ถ้าออกแรงกด P บนลูกสูบเล็กซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด a จะเกิดแรงยก W ใต้ลูกสูบใหญ่ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A ตามกฎของปาสกาล ความดันของน้ำมันที่ระดับเดียวกันในกระบอกทั้งสองต้องเท่ากัน นั่นคือ P/a = W/A ดังนั้น ถ้าลูกสูบใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดเป็น ๑๐ เท่าของอันเล็ก แรงที่ใช้กดบนลูกสูบเล็กจะเป็นเพียงหนึ่งในสิบของน้ำหนักที่ต้องการยกทางลู

แม่แรง

รูปภาพ
แม่แรงคืออะไร?               เทคโนโลยีตอบสนองการต้องการความสะดวกสบาย เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพรวดเร็ว การดำรงชีวิตแต่ละวันต้องอาศัยยานพาหนะ การบำรุงรักษา ซ่อมแซมจุดที่เสียหาย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถอดล้อเปลี่ยนยาง การยกให้สูงจากพื้นต้องอาศัยอุปกรณ์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำได้ง่ายไม่เกิดอันตราย  เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านั้น สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น             แม่แรง คือ เครื่องมือแบบหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเพิ่มเเรงในการยกรถยนต์ เพื่อทำการซ่อมแซมบำรุงส่วนต่างๆของรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นล้อรถยนต์ ช่วงล่างของรถยนต์ หรือใช้ในการตรวจตัวถังของรถยนต์ เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำงานเกี่ยวกับช่วงล่างของรถยนต์ เพื่อให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ตามปกติตัวถังและโครงรถยนต์ จะต้องทำการซ่อมแซมเนื่องด้วยอุบัติเหตุ ทำให้โครงตัวถังรถเกิดการโค้งงอ บิดตัว แตกหัก หรือฉีกขาด ซึ่งจะต้องทำการซ่อมบริเวณส่วนที่โค้งงอ บิดตัว ให้ตรงเหมือนเดิม โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ให้กำลัง (Power Tool) สำหรับดึง และดันซึ่งแล้วแต่ลักษณะของงานที่จะซ่อมนั้นๆ