แม่แรงแยกส่วนระบบไฮดรอลิก

           แม่แรงแยกส่วน หมายถึงการเอาแต่ละส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะไม่เหมือนแม่แรงแบบที่มีปั๊มและกระบอกอยู่รวมกัน ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ เช่น Simplex Enerpac Powerteam จากอเมริกา Sunrun จากไต้หวัน แม่แรงแบบนี้จะมีแรงดันที่สูงมากประมาณ 10,000 psi หรือประมาณ 800 bar ความสามารถนั้นสามารถยกของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 10000 ตัน แล้วแต่ละยี่ห้อจะผลิตออกมาจำหน่าย จะมีใช้งานตามโรงงานอุตสาหกรรม และ constructions

 ดังภาพ จะมีส่วนประกอบไปด้วย กระบอกไฮดรอลิค แฮนด์ปั๊ม สาย และก็เกจวัดแรงดัน มีแรงดันในระบบที่สูงมากประมาณ 10,000 psi เวลาต้องการใช้งานเราก็นำแต่ละส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน อาจจะดูยุ่งยากต่อการใช้งานและการเก็บรักษา แต่มีข้อดีคือ การยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดให้เลือกมากมายสามารถยกได้ตั้งแต่5ตันถึง1000ตัน เวลาจะซื้อมาใช้งานเราก็มาจัดชุดประกอบก่อนว่าเราต้องการยกอะไร ต้องการยกกี่นิ้ว ระยะห่างของตัวแม่ปั๊มกับกระบอกไฮดรอลิกว่าต้องการห่างเท่าไหร่ เพราะเราต้องมาจัดสายไฮดรอลิคว่าจะเอากี่เมตร เพราะบางพื้นที่เราไม่สามารถเข้าไปไกล้กระบอกไฮดรอลิคได้ และเป็นการป้องกันอันตรายจากวัตถุที่เราจะยกหรือเวลามีเหตุการณ์ที่กระบอกไฮดรอลิครับน้ำหนักไม่ไหว หรือดีดตัวล้มลง วัตถุอาจจะลงมาทับเราได้ ซึ่งห่างไว้จะดีกว่าแน่นอนเพราะถ้าเกิดพลาดขึ้นมามันก็หมายถึงชีวิต  ทีนี่เรามาดูว่ามันมีส่วนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง


           กระบอกไฮดรอลิค หรือเรียกอีกอย่างว่า Ram ก็จะมีด้วยกันหลายแบบขึ้นอยู่กับพื้นที่การใช้งาน เช่นพื้นที่แคบก็ใช้แบบทรงเตี้ยหรือกระบอกแบบที่มีรูตรงกลางก็เอาไว้ดึงหรือสำหรับเอาไว้ดูดลูกปืน(bearing) ส่วนรูปแบบการดึงกลับของแกนกระบอก เป็นระบบที่เวลาเรายกแกนกระบอกขึ้นด้วยการโยกแฮนด์ปั๊ม (F1) เพื่ออัดน้ำมันเข้าไปในระบบ น้ำมันจะถูกอัดเข้าไปในตัวกระบอก( F2 )ตัวแกนจะยกตัวขึ้นตามจังหวะการโยกของแฮนด์ปั๊ม ถ้าจะเอากระบอกลงด้วยการคลายน๊อต( A1 )ที่ตัวแม่ปั๊มเพื่อให้น้ำมันไหลกลับ ในตัวกระบอกนั้นจะมีสปริง ตัวสปริงนั้นก็จะดึงให้แกนกระบอกกลับมาที่เดิมถ้าไม่มีสปริงแกนก็จะไม่ไหลกลับนอกจากจะมีโหลดอยู่ด้านบน ระบบที่ว่านี้ก็คือ ระบบ Single acting return ดังในภาพ จะสังเกตุเห็นข้อต่อแบบสวมเร็วอยู่อันละตัว ถ้าเป็นอีกแบบถ้าจะให้แกนกระบอกลงกลับที่เดิมด้วยการโยกแม่ปั๊ม การไหลกลับของแกนกระบอกนั้นจะทำได้ด้วยการอัดน้ำมันเขาไปอีกทางหนึ่งเพื่อดันให้แกนกระบอกกลับเข้าที่เดิม หรือที่เรียกว่า ระบบ Bouble acting return จะสังเกตุได้ง่ายๆคือจะมีข้อต่อไฮดรอลิกอยู่สองอันที่ตัวกระบอก ข้อต่อด้านล่างอัดน้ำมันเข้าเพื่อยกแกนกระบอกขึ้น ส่วนข้อต่ออันบน จะเป็นการอัดน้ำมันเข้าเพื่อทำให้แกนกระบอกไหลกลับเข้าตำแหน่งเดิม

 
          ปั๊มไฮดรอลิค  ปั๊มไฮดรอลิคจะแบ่งออกได้หลายประเภท หลักๆก็มี แฮนด์ปั๊ม( hand pump) ปั๊มไฟฟ้า (power pump)  แอร์ปั๊ม (air pump) ปั๊มแบบใช้เครื่องยนต์ (gas pump) มีทั้งแบบหนึ่งสาย single acting และแบบสองสาย(double acting)ขึ้นอยู่กับกระบอกไฮดรอลิค วิธีเลือกใช้งานเราต้องรู้ก่อนว่ากระบอกไฮดรอลิคต้องใช้น้ำมันเท่าไหร่ถึงจะยกแกนกระบอกขึ้นได้สูงสุด และเผื่อน้ำมันที่ค้างอยู่ในสายไฮดรอลิคด้วย เพราะเราต้องมาเลือกซื้อแฮนด์ปั๊มให้ได้ตามที่เราต้องการ ถ้าน้ำมันไม่พอ ตัวกระบอกไฮดรอลิค ก็ยกขึ้นได้ไม่สุด บางรุ่นของแฮนด์ปั๊มจะมีหนึ่งสปีดและสองสปีด ถ้าเป็นสองสปีดจะช่วยผ่อนแรงให้เราได้มาก ตัวแฮนด์ปั๊มต้องสร้างแรงดันให้ได้10,000Psi ตามสเปคของกระบอกไฮดรอลิคด้วย

 

           สายไฮดรอลิค สายไฮดรอลิค มีหลายเกรด เราต้องเลือกให้ดีเพราะสายที่ทน 10,000 psi ได้ส่วนมากจะเป็นผู้ผลิตจากอเมริกา และเพราะถ้าเราไปซื้อตามร้านทั่วไป สายมันจะทนแรงดันได้ประมาณ
 4-5000psi เราต้องแจ้งกับคนขายให้ดี เขาจะหยิบให้เราผิด และขนาดความยาว แนะนำให้ซื้อแบบสำเร็จรูปที่มีข้อต่อไฮดรอลิคในตัว เพราะโรงงานจะอัดหัวสายที่ทนแรงดันระดับสูงระดับ10,000 psi ขึ้นไป ถ้าซื้อแบบมาตัดเองและอัดหัวสายตามร้านส่วนใหญ่ที่พบจะทนแรงดันได้ไม่สูง ใช้งานไม่นานก็รั่ว ถึงจะราคาไม่แพงแต่ก็ไม่คุ้มกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น


          เกจวัดแรงดัน จะเป็นการแสดงผลของแรงดันในระบบไฮดรอลิค หน่วยจะเป็น Psi ,Bar และ Tons ขึ้นว่าเราจะถนัดดูแบบไหน เราสามารถเลือกก่อนซื้อได้  เราสามารถไม่เอาได้ก็ได้ มันเป็นเพียงการแสดงผลเท่านั้น แล้วแต่ความต้องการครับ


เมื่อนำอุปกรณ์ทุกอย่างมาประกอบร่วมกันก็จะมีรูปร่างหน้าตาประมาณนี้นะครับ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แม่แรงระบบไฮดรอลิก

ประเภทของแม่แรงไฮดรอลิก

การเลือกซื้อ วิธีการใช้และการบำรุงรักษาแม่แรงไฮดรอลิก